วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 20-24 ธ.ค 53

ส่งงาน
ตอบ ข้อ 4
มู่เลือด (Blood group) เป็นชนิดของ Antigen ที่อยู่ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง หมู่เลือดของมนุษย์แบ่งเป็น 4 หมู่ (groups) ตามลักษณะชนิดของ Antigen ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง คือ A, B, AB และ O บุคคลจะมีหมู่เลือดตามกรรมพันธุ์หรือ Gene ที่ได้รับจากพ่อแม่ ทุกคนจะมี Gene คู่หนึ่งสำหรับหมู่เลือดแต่ละระบบ โดย Gene ข้างหนึ่งได้มาจากพ่อและอีกข้างหนึ่งได้มาจากแม่ ดังนั้นการตรวจหมู่เลือดจึงมีประโยชน์ในการตรวจสอบความเป็นพ่อแม่ลูกกัน ใน Gene หมู่เลือด A และ B ออกฤทธิ์เด่นได้เท่าเทียมกันเรียกว่า Co - dominant ส่วน Gene หมู่เลือด O นั้นมีความด้อย (Recessive) ต่อ gene A และ B ฉะนั้นผู้ที่มี Gene AO จะมีหมู่เลือด A และผู้มี Gene BO จะมีหมู่เลือด B
ตอบ  ข้อ 1 มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ
ตอบ ข้อ 1

 เทคโนโลยีชีวภาพ ( Biotechnology ) ในความหมายโดยกว้างคือการศึกษาและนำความรู้ในสาขาชีววิทยาจุลชีววิทยาเค เคมีอณูพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์มาใช้ประโยชน์ เทคโนโลยีชีวภาพที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติก็คือ เทคโนโลยี การหมัก (Fermentation Technology ) และ เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ (สำหรับ ค.ศ. 2004) คือวิทยาการ ตัดแต่งพันธุกรรม (DNA Recombinant Technology )
ตอบ ข้อ 3

ตอบ ข้อ 4 โดยทั่วไป การเพาะเมล็ดมีจุดประสงค์สองประการคือ เพื่อใช้ปลูกโดยตรงและเพื่อใช้เป็นต้นตอสำหรับการขยายพันธุ์แบบต่าง ๆ เช่น ก ารติดตา การทาบกิ่ง เป็นต้น การเพาะเมล็ดเป็นวิธีดั้งเดิมที่ใช้กันมานาน ข้อดีของการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดคือ ทำได้ง่าย ได้จ ำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ดต้นจะใหญ่โตมีอายุยืนนาน เพราะมีระบบรากที่แข็งแรงส่วนข้อ เสียคือออกดอกออกผลช้ากว่าการขยายพันธุ์ด้วยการติดตา การตอนหรือการทาบกิ่ง และต้นมะม่วงที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น อาจกลายพันธุ์ ไม่ตรงตามพันธุ์เดิมก็ได้ซึ่งอาจดีกว่าหรือเลวกว่าพันธุ์ เดิม กลายเป็นพันธุ์ใหม่ไป
ตอบ ข้อ 3
ในการวิจัย นักวิจัยไม่ได้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างหลายๆกลุ่มจากประชากรเดียวกันเพื่อหาการแจกแจงเชิงสุ่ม  แต่จะศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเพียงกลุ่มเดียว เพื่อหาการการแจกแจงของกลุ่มตัวอย่าง และให้ใช้ ทฤษฎี central limit theorem เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของการแจกแจงเชิงสุ่ม และการแจงแจงของประชากร  ประมาณค่าพารามิเตอร์และค่าความคลาดมาตรฐานโดยระบุความมั่นใจหรือความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า   ดังนั้นในการใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาแทนประชากรจำเป็นต้องคำนึงถึง ความถูกต้อง (accuracy) ในการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ซึ่งหมายถึง การไม่มีอคติ(bias)ในตัวอย่างที่ถูกเลือก หรือกล่าวได้ว่าโอกาสของการเลือกตัวอย่างมาศึกษาเพื่อ
ตอบ ข้อ 4 ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่อยู่รวมกันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัวได้ การปรับตัว เปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุ หรือยาวนานหลายชั่วอายุ โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการวิวัฒนาการ คุณสมบัติ และความสามารถของสิ่งมีชีวิต  สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล  โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตชนิด ต่างๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล เมื่อความเจริญและอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอดและเริ่มเสื่อมลงเพราะ มนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่น จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของสรรพสิ่งทั้งมวล

ตอบ ข้อ 4
ความ สัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำ เป็นต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อช่วยในการดำรงชีวิต  ซึ่งสิ่งแวดล้อมจัดเป็นปัจจัยที่ไม่มีชีวิต  สิ่งแวดล้อที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต  ได้แก่
  1. แสง   
  2. อุณหภูมิ
  3. น้ำ 
  4. ดินและแร่ธาตุในดิน
  5. อากาศ

ตอบ ข้อ 3

ในธรรมชาติ การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ มักมีความเกี่นวข้องกัน "การที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งกินสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเพื่อที่จะดำรงชีวิต" พฤติกรรมตามธรรมชาตินี้เรียกว่า ห่วงโซ่อาหาร (Food chain) และในห่วงโซ่อาหารจะมีความเชื่อมโยงกัน หรือที่เราเรียกว่า สายใยอาหาร (Food web) โดยทั่วไปในห่วงโซ่อาหารหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่น้อยกว่า 6 ชนิด แต่ในหนึ่งสายใยอาหารอาจมีมากกว่า 1,000 ชนิดพืช คือผู้สร้าง (Producer) หรือ ผู้ผลิตอาหาร ซึ่งเป็นจุดแรกของห่วงโซ่อาหาร ผู้ที่กินผู้สร้าง เรียกว่า ผู้บริโภค (cnsumer) ซึ่งมีหลายระดับ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจเป็นผู้บริโภคได้หลายระดับ ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารที่สิ่งมีชีวิตนั้นกิน เช่น ถ้าคนกินถั่ว คนเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง แต่ถ้าวัวกินถั่วแล้วคนกินเนื้อวัว วัวจะเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง คนเป็นผู้บริโภคอันดับสองผู้บริโภคที่กินพืชเป็นอาหาร เรียกว่า Herbivore ถือเป็นผู้บริโภคอันดับหนึ่ง ผู้บริโภคที่กินสัตว์เป็นอาหาร เรียกว่า Cornivore ถือเป็น ผู้บริโภคตั้งแต่ระดับที่ 2 ขึ้นไป ผู้บริโภคอีกพวกหนึ่งกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น มนุษย์ พวกนี้เรียกว่า Omnivoreห่วงโซ่อาหารมี 2 แบบ แบบที่หนึ่งเริ่มจากพืชไปยังสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ ส่วนอีกแบบหนึ่งเริ่มจากซากพืช ซากสัตว์ พวกนี้ถูกย่อยสลายโดย "ผู้ย่อยสลาย" (Decomposer) เช่นไส้เดือน จุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรีย เห็ด โดยซากสัตว์ที่ถูกย่อยสลาย จะให้ธาตุอาหารกลับลงไปในดินเพื่อเป็นอาหารของพืช แล้วกลับเข้าไปในห่วงโซ่อาหารแรกหมุนเวียนต่อไปไม่รู้จบ
ตอบ ข้อ 3
 วัฏจักรแคลเซียมเป็นการหมุนเวียนของแคลเซียมในสิ่งแวดล้อม แคลเซียมเป็นธาตุที่มีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย การตกตะกอนและการละลายในรูป CaCO3 และ Ca[HCO3]2 มีความสำคัญอย่างมากในสิ่งแวดล้อม การตกตะกอนของ CO32- เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างภายนอกของจุลินทรีย์และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ส่วนสัตว์มีกระดูกสันหลังจะสะสม CO32- ในกระดูกและฟัน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น