วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรม 22-26 พย 53

ส่งงาน
21.ตอบ  ข้อ 3.สารอะฟลาทอกซินจากเชื้อราทำให้อัตราการเกิดมิวเทชันสูงขึ้น 
อธิบาย
มิวเทชันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต 2 ระดับ คือ ระดับโครโมโซม (chromosomal mutation) และระดับยีนหรือโมเลกุล ดีเอ็นเอ (DNA gene mutation)
ปัจจัยที่ทำให้เกิดมิวเทชัน
ตัวกระตุ้นหรือชักนำให้เกิดมิวเทชัน จะเรียกว่าสิ่งก่อกลายพันธุ์ (mutagen)

อธิบาย
สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (อังกฤษ: Genetically Modified Organisms – GMO) คือสิ่งมีชีวิตที่องค์ประกอบทางพันธุกรรมถูกดัดแปลงโดยใช้กลวิธีทางพันธุวิศวกรรมที่เรียกว่าเทคโนโลยีการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (DNA Recombinant) ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว โมเลกุลดีเอ็นเอจากต้นกำเนิดต่างๆ กันจะถูกรวมเข้าด้วยกันในหลอดทดลอง แล้วใส่ลงไปในโมเลกุลหนึ่งตัวเพื่อสร้างยีนขึ้นมาใหม่ จากนั้นดีเอ็นเอที่ถูกดัดแปลงก็จะถูกถ่ายลงไปในสิ่งมีชีวิต ทำให้เกิดการแสดงลักษณะที่เกิดขึ้นจากการดัดแปลงที่แปลกใหม่ นิยามของคำว่า GMO ในอดีตถูกใช้เพื่อเรียกสิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดแต่งทางพันธุกรรมผ่านการผสมข้ามพันธุ์ที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป หรือการผสมพันธุ์แบบมิวเตเจนีซิส (การให้กำเนิดแบบกลายพันธุ์) เนื่องจากวิธีการเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนการค้นพบเทคนิคการรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ

อธิบาย
การโคลน หมายถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ คือสเปิร์ม กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือไข่ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์ตามปกติ แต่ใช้เซลล์ร่างกาย (Somatic cell) ในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่
อันที่จริงเทคโนโลยีการโคลน เป็นเทคโนโลยีที่พบเห็นในชีวิตประจำวันอย่างแพร่หลายมาหลายสิบปีมาแล้ว โดยเฉพาะกับพืช เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ ซึ่งเป็นการาขยายพันธุ์ที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูง การโคลนพืช จะใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่โพรโตพลาสต์ของพืช มาเลี้ยงในสารอาหาร และในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่าง ๆ ของพืชดังกล่าวสามารถจะเจริญเป็นพืชต้นใหม่ ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ การตัดกิ่ง ใบ ราก ไปปักชำก็ จัดว่าเป็นโคลนในพืชที่เรียกว่า การเลี้ยงเนื้อเยื่อ ก็มีการศึกษาการโคลนในสัตว์บ้างเหมือนกัน เช่น J.B Gurdon จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการโคลนกบ ซึ่งนับว่าเป็นการโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลังเป็นครั้งแรก J.B Gurdon ได้นำนิวเคลียสของเซลล์ ที่ได้จากลำไส้เล็กของลูกอ๊อดกบ (เป็น Somatic cell) มีโครโมโซม 2 n ไปใส่ในเซลล์ไข่ของกบอีกตัวหนึ่งที่ทำลายนิวเคลียสแล้ว พบว่าไข่กบนี้ สามารถเจริญเติบโตเป็นกบตัวใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนกบ ที่เป็นเจ้าของนิวเคลียสที่นำมาใช้
อธิบาย
โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง โปรตีนเป็นหนึ่งในมหโมเลกุล (macromolecules) เช่นเดียวกันกับโพลีแซคาไรด์ (คาร์โบไฮเดรต) และกรดนิวคลีอิก (สารพันธุกรรม) ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โปรตีนถูกค้นพบครั้งแรกโดย Jöns Jacob Berzelius ในปี พ.ศ. 2381 (ค.ศ. 1838)


ข้อ 1.ที่ถูกต้องต้องเป็น แบคทีเรีย-อะมีบา-เห็ด
ข้อ 2.ที่ถูกต้องต้องเป็น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน-สาหร่ายสีเขียว-มอส
ข้อ 3.ที่ถูกต้องต้องเป็น ฟองน้ำ - หนอนตัวแบน - ดาวทะเล



ตอบ 4
ห่วงโซ่อาหาร (food chain)        พืชและสัตว์จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต  โดยพืชจะได้รับพลังงานจากแสง
ของดวงอาทิตย์  โดยใช้รงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า  คลอโรฟิลล์  (chlorophyll)  เป็นตัวดูดกลืนพลังงาน
แสงเพื่อนำมาใช้ ในการสร้างอาหาร  เช่น  กลูโคส  แป้ง  ไขมัน  โปรตีน  เป็นต้น

        พืชจึงเป็นผู้ผลิต (producer)  และเป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการถ่ายทอดพลังงาน
แบบห่วงโซ่อาหาร สำหรับสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่ไม่สามารถสร้าง อาหารเองได้  จำเป็นต้องได้รับพลังงาน
จากการบริโภค สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร สัตว์จึงถือว่าเป็น ผู้บริโภค (consumer)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็นต้น
ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง (primary  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้ผลิต

ผู้บริโภคลำดับที่สอง  (secondary  consumer )  หมายถึง  สัตว์ที่กินผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง

ผู้บริโภคลำดับสูงสุด  (top  consumer)  หมายถึง  สัตว์ที่อยู่ปรายสุดของห่วงโซ่อาหาร
ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตใด มากินต่อ  อาจเรียกว่า  ผู้บริโภคลำดับสุดท้าย


2.ตอบ   ข้อ 2.มีเทน  คาร์บอนไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน
อธิบาย
แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้[1][2] แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv


3.ตอบ   ข้อ 4. ก และ ง
อธิบาย
ผนังเซลล์ (Cell wall) คือ ชั้นที่ล้อมเซลล์ซึ่งอยู่ถัดจากชั้นของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำจุนโครงสร้าง ปกป้องเซลล์ และกลไกคัดกรองสาร ผนังเซลล์ยังมีหน้าที่ป้องกันการขยายตัวมากเกินไปหากน้ำไหลผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์ มักพบอยู่ในพืช แบคทีเรีย อาร์เคีย เห็ดรา สาหร่าย แต่ไม่พบในสัตว์และโพรทิสต์
คลอโรฟิลล์ (อังกฤษ: Chlorophyll) เป็นสารประกอบที่พบได้ในส่วนที่มีสีเขียวของพืช โดยพบมากที่ใบ นอกจากนี้ยังพบได้ที่ลำต้น ดอก ผลและรากที่มีสีเขียว และยังพบได้ในสาหร่ายทุกชนิด นอกจากนี้ยังพบได้ในแบคทีเรียบางชนิด คลอโรฟิลล์ทำหน้าที่เป็นโมเลกุลรับพลังงานจากแสง และนำพลังงานดังกล่าวไปใช้ในการสร้างพลังงานเคมีโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อสร้างสารอินทรีย์ เช่น น้ำตาล และนำไปใช้เพื่อการดำรงชีวิต  คลอโรฟิลล์ อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยล์ (Thylakoid membrane) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ภายใน คลอโรพลาสต์ (Chloroplast)




4.ตอบ   ข้อ 4.ทิ้งใบบางส่วน เพื่อลดการคายน้ำ
อธิบาย
เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้ว แล้วต้นมะม่วงนั้นมีใบค่อนข้างเยอะ
ถ้าหากว่าไม่ตอบสนองต่อการแห้งแล้วก็จะยืนต้นตาย เพราะฉะนั้นจึงต้อง
ยอมสละใบบางส่วนทิ้งไป เพราะจะได้มีความต้องการใช้น้ำลดลง
ก็จะสามารถยืนต้นต่อไปได้ เพื่อคอยฤดูฝนที่จะมาถึง

 5.ตอบ   ข้อ 2.สารละลายไฮเพอร์โทนิค
อธิบาย
การออสโมซิสของน้ำในสภาพความเข้มข้นของสารละลายต่าง ๆ

           จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยกระบวนการออสโมซิส
พบว่า เมื่อนำ เซลล์เม็ดเลือดแดงไปใส่ในสารละลายที่มีความเข้มข้นต่างๆ
แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. สารละลายไอโซโทนิก (Isotonic solution)

          หมายถึง ความเข้มข้นของสารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากับความเข้มข้น
ของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้การออสโมซิสของโมเลกุลของนํ้าเข้าสู่
เซลล์เม็ดเลือดแดง และออกจากเซลล์เม็ดเลือดมีค่าเท่ากัน ทำให้ขนาดของเซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง
         สารละลายที่เป็นไอโซทอนิกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงคือ น้ำเกลือ 0.85 %
2. สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น